หลา ถักเปีย ราคาประหยัด 100 บาทเองค่ะ มีแบบหลากหลายให้ท่านเลือกเหมาะสำหรับพิธีต่างๆ ท่านสามารถนัดวันเวลาสถานที่ ที่สดวกได้ทั่วกรุงเทพค่ะ ติดต่อสอบถามโทร 08-6551-3967 หรือส่งแบบที่ชอบมาที่ phalla19@gmail.com

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ

วัตถุประสงค์

เพื่อเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีบางซื่อ โดยนำผู้โดยสารจากพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนภายในพื้นที่ กทม.
ลักษณะโครงการ

โครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับระยะทาง 23 กม. เป็นทางวิ่งยกระดับทั้งหมด มี 16 สถานี โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจากบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งมีสถานีเตาปูนเป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จากนั้นเส้นทางวิ่งไปตามถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ผ่านแยกท่าอิฐ แยกบางพลู แยกบางใหญ่ และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดโครงการที่บริเวณคลองบางไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง
รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง 16 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีเตาปูน เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน คือ สถานีบางซื่อ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระกว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 กับถนนกรุงเทพฯ – นนทบุรี ที่แยกเตาปูน
2. สถานีบางซ่อน ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชนตลาดบางซ่อน และสถานีรถไฟบางซ่อน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง
3. สถานีวงศ์สว่าง ตั้งอยู่บริเวณก่อนถึงทางแยกวงศ์สว่าง และสถานีดับเพลิงบางซ่อน
4. สถานีแยกติวานนท์ ตั้งอยู่ระหว่างซอยกรุงเทพ- นนทบุรี 12-14
5. สถานีกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข และซอยติวานนท์ 8
6. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการนนทบุร
7. สถานีศรีพรสวรรค์ ตั้งอยู่บริเวณห้างคาร์ฟูร์ ซอยรัตนาธิเบศร์ 22 และบริเวณโรงแรมริชมอนด
8. สถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งอยู่แยกถนนเลี่ยงเมือง บริเวณห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ และพื้นที่จอดรถ ป.กุ้งเผา พร้อมอาคารจอดรถ 4 ชั้น จอดรถจำนวน 450 คัน
9. สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นสะพานพระนั่งเกล้าฝั่งตะวันออก หน้าท่าทรายจันทิมา
10. สถานีไทรม้า ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านนราธิป บริเวณเยื้องลงมาทางทิศใต้ของถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณซอยตาหรั่ง โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ในแนวคู่ขนาน
11. สถานีท่าอิฐ ตั้งอยู่บริเวณใกล้สำนักงานการเดินรถที่ 7 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พร้อมอาคารจอดรถ 10 ชั้น จอดรถจำนวน 1,100 คัน
12. สถานีบางรักใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณแยกตัดกับถนนราชพฤกษ์
13. สถานีบางพลู ตั้งอยู่กลางสี่แยกบางพลู ถนนรัตนาธิเบศร์ ตัดถนนบางกรวย-ไทรน้อย
14. สถานีสามแยกบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณ หมู่บ้านกฤษดานครโครงการ 10 หมู่บ้านธนกาจญน์ พร้อมอาคารจอดรถ 10 ชั้น จอดรถจำนวน 1,950 คัน และบริเวณเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ
15. สถานีตลาดบางใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณใกล้โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ห้างบิ๊กซี หมู่บ้านรัตนาธิเบศร์ ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้
16. สถานีคลองบางไผ่ ตั้งอยู่บริเวณช่วงบริเวณคลองบางไผ่ อยู่ใกล้กับศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารจอดรถ 3 ชั้นไฟฟ้า จอดรถจำนวน 1,800 คัน


รูปแบบอาคารทางขึ้น-ลงสถานี
ประมาณการจำนวนผู้โดยสาร (หน่วย : คน/วัน)
ปี พ.ศ. 2560 2565 2570 2575
ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ 226,268 288,292 345,940 403,588
ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจและการเงิน
โครงการ EIRR Economic Benefit (Mil. Batn) FIRR
ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ 19.41% 846,901 ติดลบ
วงเงินลงทุน
ค่างาน แหล่งเงิน กรอบวงเงิน (ล้านบาท)
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน งบประมาณ / SP2 9,209
ค่าก่อสร้างงานโยธา เงินกู้ JICA 36,055
ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า PPP 13,243
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (PC) งานโยธา เงินกู้ JICA 1,296
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ (PC) งานระบบรถไฟฟ้า เงินกู้ JICA 382
รวม 60,185
แผนดำเนินงาน
- จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ม.ค. 50 - ก.ค. 53
- จัดจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ ม.ค. 51 – พ.ย. 52
- คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง เม.ย. 51 – พ.ย. 52
- เริ่มงานก่อสร้าง ธ.ค. 52
- เปิดให้บริการ ส.ค. 57
(เป็นแผนงานปรับปรุงครั้งที่ 18 เมื่อ 9 ก.ย. 52 เพื่อเตรียมรายงานให้คณะกรรมการ รฟม. รับทราบในคราวประชุมครั้งต่อไป)

งานสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มี 6 สัญญา ดังนี้

สัญญาที่ 1 :
งานก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับ (ส่วนตะวันออก) จากแยกสนามบินน้ำบนถนนรัตนาธิเบศร์ถึงสามแยกเตาปูน รวมงานสถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดังระบุในมาตรฐานข้อกำหนดในสัญญา และงานก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายเฉลิมรัชมงคล ถึงสามแยกเตาปูน รวมระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร และการก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีเตาปูนถึงสถานีสะพานพระนั่งเกล้า ระยะเวลาก่อสร้าง 10 พฤศจิกายน 52 – 21 กรกฎาคม 56 (1,350 วัน)
สัญญาที่ 2 :
งานก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับ (ส่วนตะวันตก) จากคลองบางไผ่บนถนนกาญจนาภิเษก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า สิ้นสุดที่แยกสนามบินน้ำบนถนนรัตนาธิเบศร์ งานก่อสร้างสะพานทางรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง รวมงานสถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดังระบุในมาตรฐานข้อกำหนดในสัญญา และรวมระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร และการก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 8 สถานี เริ่มจากสถานีสะพานพระนั่งเกล้าถึงสถานีคลองบางไผ่ ระยะเวลาก่อสร้าง 1 มีนาคม 53 – 9 พฤศจิกายน 56 (1,350 วัน)
สัญญาที่ 3 :
งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่คลองบางไผ่ รวมอาคารจอดแล้วจรภายในศูนย์ซ่อมบำรุง (ความจุ 1,800 คัน) และอาคารจอดแล้วจรอีก 3 แห่ง คือ 1) อาคารจอดแล้วจรสามแยกบางใหญ่ (ความจุ 1,460 คัน) 2) อาคารจอดแล้วจรท่าอิฐ (1,080 คัน) 3) อาคารจอดแล้วจรแยกนนทบุรี 1 (450 คัน) ระยะเวลาก่อสร้าง 1 มีนาคม 53 – 9 พฤศจิกายน 56 (1,350 วัน)
สัญญาที่ 4 :
การจัดหา ดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า ช่วงบางใหญ่ – เตาปูน คาดว่าใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 1,200 วัน สัญญาที่ 5 :
การจัดหา ดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า ช่วงเตาปูน- บางซื่อ คาดว่าใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 720 วัน สัญญาที่ 6 :
งานระบบราง คาดว่าใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 1,110 วัน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ –ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ สัญญาที่ 2
มูลค่าสัญญา : งานโยธา 36,055 ล้านบาท
งานระบบรถไฟฟ้า 13,460 ล้านบาท (โดยประมาณ)
ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งสิ้น : 59 เดือน
รูปแบบการก่อสร้าง

ทางวิ่งยกระดับ โดยพิจารณาการออกแบบเพื่อลดผลกระทบต่างๆ ดังน
1. จัดตำแหน่งเสาให้อยู่ที่กึ่งกลางถนนหรือที่เกาะกลางถนน เพื่อลดผลกระทบต่ออาคารริมถนน
2. ชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงสร้างจะหล่อสำเร็จมาจากโรงงาน และในช่วงที่ติดตั้งชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงสร้างนั้น จะกระทบกับการสัญจรที่ระดับพื้นดินน้อยที่สุด
3. ออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างเสามากสุดเท่าที่เป็นไปได้ตามเทคนิคการก่อสร้างปัจจุบัน เพื่อที่จะให้การก่อสร้างเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
4. ชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ของโครงสร้างสามารถตรวจสอบและถอดเปลี่ยนได้ เมื่อพบว่าเสียหาย หรือหมดสภาพในการใช้งาน
ฐานรากของโครงสร้างเลือกใช้ฐานรากบนเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 ถึง 1.20 เมตร หยั่งลึกลงไปถึงทรายชั้นที่ 2 เพื่อลดผลของการทรถดตัวของโครงสร้างจากการใช้งาน ส่วนบนของฐานรากจะมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่ปรับความแตกต่างการทรุดตัวระหว่าง ดินรอบๆ ฐานราก และดินที่ถมบนฐานรากให้ทรุดตัวต่างกันน้อยที่สุด
ในการก่อสร้างฐานรากนั้นจะมีการปิดช่องทางจราจร เพื่อก่อสร้างเสาเข็ม ฐานราก และเสา จากนั้นก็สามารถที่จะคืนผิวจราจรให้กลับไปใช้งานได้โดยถนนที่มีเกาะกลางถนน อยู่ก่อนแล้ว พื้นที่ผิวการจราจรอาจไม่แตกต่างไปจากเดิมก่อนการก่อสร้าง ส่วนถนนที่เดิมไม่มีเกาะกลางถนน ผิวจราจรจะลดประมาณ 1 ถึง 2 ช่องจราจร ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับ ณ จุดนั้น
เสาที่ใช้เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในพื้นที่ก่อสร้างขนาดหน้ากว้าง ประมาณ 2.50 ถึง 3.50 เมตร โดยเสาจะก่อสร้างขึ้นไปในแนวดิ่งจนถึงระดับที่จะติดตั้งโครงสร้างทางวิ่งยก ระดับต่อไป
โครงสร้างเสาเดี่ยว
โครงสร้างเสาเดี่ยวขนาดใหญ่
โครงสร้าง Portal Frame
ทางวิ่งยกระดับ ใช้โครงสร้างแบบกล่องหล่อสำเร็จรูปจากโรงงาน แต่ละชิ้นจะมีความกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 3.50 เมตร ความยาวของโครงสร้างทางวิ่งในแต่ละช่องเสายาว 25 ถึง 40 เมตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสถานที่ เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ เสามีลักษณะโปร่งบาง สวยงาม ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนนโครงสร้างทางวิ่ง เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตรจากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้
รูปแบบทั่วไปของ Precast Segment
การติดตั้ง Precast Segment
ทั้งนี้โครงสร้างโดยรวมจะมีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานตามที่ออกแบบไว้ โดยชิ้นส่วนหลักๆ ของโครงสร้างออกแบบให้มีอายุใช้งาน 100 ปี ช้นส่วนปลีกย่อยของโครงสร้าง เช่น ยางที่รอยต่อเพื่อการขยายตัว ยางรองคานสะพาน และอื่นๆ สามารถตรวจสอบและถอดเปลี่ยนได้ตามระยะเวลา โดยชิ้นส่วนปลึกย่อยต่างๆ จะมีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 15 ปี
รูปแบบสถานี

สถานีรถไฟฟ้าในโครงการฯ ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยเป็นสถานียกระดับ ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร รูปแบบชานชาลากลาง การจัดพื้นที่ของสถานีประกอบด้วย
1. ระดับถนน เป็นทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน ที่ไม่กีดขวางการสัญจรของคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับพักคอย สามารถกันแดดกันฝนได้ และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว
2. ชั้นออกตั๋วโดยสาร (concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง ประกอบด้วยตู้ขายตั๋วและเครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ ผู้โดยสารสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ และบางสถานียังสามารถเชื่อมต่อไปยังอาคารข้างเคียงหรืออาคารจอดรถของโครงการ ได้อีกด้วย
3. ชั้นชานชาลา เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร มีพื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลางเป็นช่องระบายอากาศเปิดโล่ง 2 ช่อง มีประตูกั้นชานชาลา (platform screen door) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height) มีบันไดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลงที่ปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และมีบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน
ในส่วนของรถไฟฟ้าเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ความจุประมาณ 320 คนต่อคัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานีบางซื่อ และสถานีเตาปูน

ในอดีต โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-บางใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน แต่ในภายหลังได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทำให้เส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงแทน ขณะที่เส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูนเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ดังนั้น สถานีบางซื่อในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบัน ซึ่งเดิมได้เตรียมชานชาลาที่ 2 ไว้สำหรับเดินรถมุ่งหน้าสู่สถานีปลายทางคลองบางไผ่ (บางใหญ่) จึงเปลี่ยนไปเป็นสถานีปลายทางท่าพระแทน ขณะที่การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงระยะแรกนี้จะดำเนินการจากบางใหญ่มาสิ้นสุด เพียงแค่สถานีเตาปูนเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปยังสถานีบางซื่อโดยตรง
แต่ในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นการก่อสร้างเส้นทางช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ เนื่องจากในสัญญาที่ 1 ของการก่อสร้างได้รวมเอาเส้นทางช่วงบางซื่อ-เตาปูน-บางใหญ่ไว้ด้วยกันทั้ง หมด เพื่อให้เส้นทางที่สร้างขึ้นใหม่นี้สามารถให้บริการเชื่อมต่อกับการเดินรถใน ปัจจุบันได้
ผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้าง

โครงการนี้จะมี “การเวนคืนที่ดิน” เฉพาะที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างโครงการ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดินจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ “ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น“ผู้เสียสละ” จะมีการจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทางที่สถานีคลองบางไผ่และเตาปูน แต่จนถึงปัจจุบัน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำไปเพียงแค่ร้อยละ 10 จึงส่งผลต่อการก่อสร้าง ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ทำให้การก่อสร้างล่าช้า
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ได้มีมติเพื่อเสนอต่อไปยังรัฐบาลให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่นนทบุรีเป็น ระบบใต้ดิน ต่อมาประชาชนส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรีได้ รวมตัวคัดค้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ายกระดับ และได้ขึ้นป้ายผ้าประท้วงหน้าอาคารพาณิชย์ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี โดยเฉพาะย่านการค้าบริเวณแยกเตาปูน ซึ่งกำหนดให้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เนื่องจากถนนมีความกว้างจำกัด เกรงจะมีผลกระทบต่อการค้าขาย ทัศนียภาพ และปัญหามลภาวะ จึงมีข้อเสนอให้ตลอดแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สร้างเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินแทน ในครั้งนั้น ทาง รฟม. ได้เจรจาและทำความเข้าใจกับผู้คัดค้านจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังคงยืนยันถึงข้อดีของการก่อสร้างในรูปแบบเส้นทางยกระดับ
การรื้อย้ายสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

การรื้อย้ายได้กำหนดไว้ดังนี้
- ระบบไฟฟ้า
สายอากาศ - รื้อย้ายสายอากาศที่ได้รับผลกระทบลงใต้ดิน ส่วนสายไฟฟ้าแรงสูงบริเวณข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา รื้อย้ายลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
สายใต้ดิน - รื้อย้ายสายใต้ดินให้พ้นแนวโครงสร้าง
- ระบบสื่อสาร
สายอากาศ - รื้อย้ายเสาอากาศที่ได้รับผลกระทบ ลงใต้ดินตามระบบไฟฟ้า
สายใต้ดิน - รื้อย้ายสายใต้ดินให้พ้นแนวโครงสร้าง
- ระบบไฟแสงสว่าง
ถนนกาญจนาภิเษก - รื้อย้ายระบบไฟแสงสว่าง ที่ได้รับผลกระทบบริเวณกลางถนนจากบริเวณคลองบางไผ่ถึงสมแยกบางใหญ่มายึดติด กับโครงสร้างระบบรถไฟฟ้า
ถนนรัตนาธิเบศน์ - รื้อย้ายระบบไฟแสงสว่าง ที่ได้รับผลกระทบบริเวณกลางถนนตลอดเส้นทาง มายึดติดกับโครงสร้างระบบรถไฟฟ้า
ถนนติวานนท์ - รื้อย้ายระบบไฟแสงสว่าง ที่ได้รับผลกระทบบริเวณกลางถนนตลอดเส้นทาง มายึดติดกับโครงสร้างระบบรถไฟฟ้า
- ระบบสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร รื้อย้ายสัญญาญจราจรและเครื่องหมายจราจรที่ได้รับผลกระทบให้พ้นแนวโครงสร้าง พร้อมตีเส้นจราจรใหม
- ระบบระบายน้ำ ทำการปรับปรุงบ่อพักและท่อระบายน้ำที่ได้รับผลกระทบ
การจัดการจราจร

วิธีการ และการกันพื้นที่ก่อสร้าง กำหนดให้ผู้รับเหมากันพื้นที่ผิวจราจรน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการกันพื้นที่ผิวสั้นที่สุด และทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวจราจรข้างเคียงน้อยที่สุด
ในขณะที่ก่อสร้างโครงการ การกันพื้นที่ก่อสร้างจะต้องทำให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มีการจัดทำแผนการก่อสร้างและต้องเสนอแผนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างอย่างน้อย 30 วัน
การดำเนินงาน ต้องมีการจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวกภายในพื้นที่ก่อสร้าง และโครงข่ายถนนข้างเคียงที่ใช้เป็นทางเลี่ยงการจราจร โดยมีการประชุมและเสนอแผนการจัดการจราจรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจจราจร ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรหรือในกรณีที่จะต้องเพิ่มช่องจราจรจะทำการก่อ สร้างก่อนที่จะดำเนินการกันพื้นที่ที่ก่อสร้าง เพื่อเพิ่มช่องจราจรและลดผลกระทบต่อโครงข่ายถนน
การรื้อย้ายสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มีดังนี้

1. ฝุ่นละออง : เกิดจากกิจกรรมการปรับพื้นที่ กองวัสดุและการขนส่ง มาตรการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้กำหนดมาตรการเฉพาะกรณี ทั้งการพรมน้ำบริเวณพื้นที่โล่ง การปิดคลุมกองวัสดุ การล้างตัวรถ ล้อรถ ให้ปราศจากดินก่อนนำรถออกมาภายนอกพื้นที่ก่อสร้าง การติดตั้งรั้วทึบสูงอย่างน้อย 2 เมตร และการควบคุมความเร็วยานพาหนะในพื้นที่ก่อสร้าง
2. เสียง : เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในการก่อสร้างมาตรการลดผลกระทบโดยการควบคุมระยะเวลาการทำงาน ห้ามการก่อสร้างกิจกรรมที่มีเสียงดังหลังเวลา 22.00 น. และหมั่นตรวจสอบเครื่องจักร เครื่องยนต์ อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการก่อให้เกิดเสียงดัง
3. ความสั่นสะเทือน กิจกรรมการก่อสร้างที่อาจก่อให้เกิดความสั่นสะเทือน ต้องดำเนินการในเวลากลางวันตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. และบริเวณที่ไวต่อการได้รับผลกระทบ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ฯลฯ ต้องลดพลังงานกิจกรรมการเจาะ การกระแทก การตอกเสาเข็ม เป็นต้น
4. การกระแทก : จำดำเนินการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการจัดทำแผนการจราจร การประชาสัมพันธ์ให้ใช้ทางเลี่ยงจัดให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการ จราจร กำหนดทางลัด ทางเบี่ยง และติดตั้งสัญญาณป้าย ไฟแสงสว่าง และสัญญาณจราจร ให้ชัดเจน
5. การระบายน้ำ : จัดให้มีระบบระบายน้ำชั่วคราวและเพิ่มเติม, ดูแลความสะอาดในพื้นที่ก่อสร้าง, กำหนดให้ผู้รับเหมาตรวจสอบดูแลและป้องกันไม่ให้ดินตะกอน และเศษวัสดุจากการก่อสร้างไปอุดตันช่องระบายน้ำ

La Thakpea, is one of professional hair braid with many styles for your favorite ones. I am available to go to your residence or anywhere in Bangkok you date. For more Infor, Plz Call: (+66) 086-551-3967 you may email us at: phalla19@gmail.com

0 comments:

Post a Comment